พรรณไม้ประจำวิทยาลัย

พรรณไม้ประจำวิทยาลัย

สิรินธรวัลลี (Bauhinai sirindhorniae K. & S.S, Larsen, Nord. J, Bot)

          พรรณไม้ ประจำวิทยาลัย เป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนในการสื่อความหมายถึงสถาบัน โดย “สิรินธรวัลลี” ซึ่งมีความหมายว่า “วัลยชาติแห่งสมเด็จพระเทพฯ”ถือเป็นศิริมงคลอย่างหาที่สุดมิได้ แก่วิทยาลัย
          และในโอกาส ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถาบัน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง จึงน้อมนำพรรณไม้ สิรินธรวัลลี มาเป็นพรรณไม้ประจำวิทยาลัย โดยมีความเหมาะสมหลายประการ ดังนี้

  1. พรรณไม้พระนามาภิไธย “สิรินธร” สอดคล้องกับชื่อวิทยาลัยซึ่งได้รับพระราชทานพระนามาภิไธยจากพระองค์ท่านเนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 3 รอบ 2 เมษายน 2534
  2. พรรณไม้เป็นไม้เถาว์หรือไม้เลื้อยเนื้อแข็ง สื่อถือ ความสามารถในการปรับตัว การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่แฝงไว้ซึ่งความเข้มแข็ง มั่นคง ดังเช่นลักษณะของเถาวัลย์ที่สามารถแตกยอดและเจริญได้อย่างรวดเร็ว ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ง่าย แต่ภายในยังคงมีเนื้อไม้ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และมั่นคง
  3. ช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก รวมกันมีสัณฐานเป็นทรงกลม สื่อถึง ความร่วมมือ และความสมัครสมานสามัคคีของคนในสถาบันอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในกิจการงานต่าง ๆ เหมือนดั่งดอกของสิรินธรวัลลีที่ความสวยงามจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากดอกย่อยจำนวนมากร่วมกันแบ่งบาน
  4. ชื่อพ้อง “สามสิบสองประดง” สื่อถึงความสมบูรณ์พร้อมของวิทยาลัย ซึ่งตรงตามคติความเชื่อไทยโบราณ ที่เชื่อว่าคนเราจะประกอบด้วยมงคล 32 ประการ รวมกันแล้วจุติเกิดมา ดังเช่นเมื่อตั้งครรภ์ หรือครั้นคลอดบุตร พ่อ แม่ ต่างขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือให้บุตรที่คลอดมาครบ 32 ประการ
ชื่อ
Thai name
สิรินธรวัลลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scientific Name
สิรินธรวัลลี (Bauhinai sirindhorniae K. & S.S, Larsen, Nord. J, Bot)
ชื่อวงศ์
Family Name
CAESALPINIACEAE
ชื่อเรียกอื่น
Other Name
สามสิบสองประโดง
สามสิบสองประดง
ลักษณะ
Characteristics

ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาว 10-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบ เดี่ยว รูปไข่ถึงเกือบกลม กว้าง 4-17 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายใบแหลมและแยกเป็น 2 พู เว้าลึกเกือบถึงโคน ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน หูใบเป็นเส้นม้วนโค้ง ดอกสีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อ ยาวได้ถึง 15 ซม. ดอกย่อยบานกว้างประมาณ 1 ซม. กลีบรองดอกเป็นหลอด กลีบดอกสีเหลืองอมส้มถึงแดง มี 5 กลีบ เกสรผู้สมบูรณ์ 3 อัน รังไข่และก้านเกสรเมียมีขน ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 15-18 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดง คลุมแน่น เมล็ด สีน้ำตาลดำรูปกลม ขนาดเล็ก

การกระจายพันธุ์
Distribution

เป็นพืชถิ่นเดียว ของประเทศไทย พบที่จังหวัดหนองคาย ตามชายป่าดิบแล้ง ออกดอกช่วงเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม

แหล่งอ้างอิง
Characteristics
ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ www.qsbg.org